โรงพยาบาลอุทัยธานี

โปรแกรมสุขภาพ


การสัมผัสกับอุณหภูมิความร้อนต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงกลางวันจนถึงบ่าย อาจเกิดภาวะ ฮีทสโตรก (Heat stroke) หรือ โรคลมร้อน ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัว หรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายกระทั่งอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด ชัก หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดปกติ ช็อก ไม่รู้สึกตัว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตได้ ขอเตือนกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับอันตรายจากภาวะลมร้อน ได้แก่ 1) ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด 2) เด็กอายุต่ำกว่า5ขวบและผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว 3) ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีปัญหาการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดเดิมอยู่แล้ว 4) คนอ้วน 5) ผู้ที่อดนอนโดยร่างกายของคนอ้วนและผู้ที่อดนอน จะตอบสนองต่อความร้อนที่ได้รับช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะในคนอ้วนจะมีไขมันใต้ผิวหนังมาก ไขมันจะเป็นฉนวนกันความร้อน ร่างกายจะเก็บความร้อนได้ดี และระบายความร้อนออกได้น้อยกว่าคนทั่วไป 6) ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยที่อยู่บริเวณใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้นส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มขณะเดียว กันในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็ว และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ หากอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดต่อเนื่องกันจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ4ระดับ คือ 1) ทำให้ผิวหนังไหม้ 2) เป็นตะคริว เนื่องจากสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปกับเหงื่อ 3) อาการเพลียแดด เนื่องจากสูญเสียเหงื่อ เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลง จะมีอาการหน้าซีด ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน หน้ามืด ตาลาย 4) เป็นลมร้อน (Heat Stroke) เนื่องจากได้รับความร้อนมากเป็นเวลานาน ตัวจะร้อนจัด สมองไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายได้ จะมีอาการสำคัญที่ต่างจากอาการเป็นลมแดดทั่วๆไปคือ ตัวร้อนจัด ผิวหนังจะแห้ง ไม่มีเหงื่อออก มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่นเดินเซ กระสับกระส่าย หมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ช็อค หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เสียชีวิตได้การช่วยเหลือผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยจากภาวะลมร้อนให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองมากขึ้น คลายชุดชั้นในและถอดเสื้อผ้าออกให้เหลือน้อยชิ้น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก ร่วมกับการใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อนหรือใช้น้ำเย็นราดตัว เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลง และรีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด การป้องกันอันตรายจากโรคลมร้อนในช่วงที่มีอากาศร้อน แนะนำให้สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี ควรอยู่ภายในบ้าน เช่นใต้ถุนบ้าน หรืออยู่ใต้ร่มไม้ ลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้ง สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง ควรดื่มน้ำมากกว่าปกติ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ส่วนผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง

19 เมษายน 2566
อ่านเพิ่มเติม

ในช่วงที่อากาศแปรปรวนเสมือนมีหมอกปกคลุม บางครั้งอาจไม่ใช่หมอกแต่เป็นฝุ่นละอองที่มีปริมาณมากเกินขนาดจนเป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งอาจพบเป็นบางวันในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ผู้ที่มีโรคประจำตัวทางระบบหายใจ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรต้องระวังและใส่ใจดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้... PM 2.5 คืออะไร? ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน คือ มลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด (5 ไมครอน) ดังนั้นฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก ฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน ? แหล่งกำเนิดสำคัญ คือ การจราจร โรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ขยะสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ สามารถเข้าสู่ทางโพรงจมูก แล้วเข้าสู่กระแสเลือด PM 2.5 ทำร้ายสุขภาพของเราโดยไม่รู้ตัว!!! ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ ปัจจุบันเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดย PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นขนาดเล็ก มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า สามารถแทรกซึมเข้าไปในร่างกายได้โดยตรงโดยการหายใจ ส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างมากโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อร่างกายเราอย่างไร? แสบตา ตาแดง ผิวหนังอักเสบ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สมองมีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น ภูมิแพ้กำเริบ หอบหืด มีไข้ ตัวร้อน แสบจมูก มีน้ำมูก ไอจาม อาจเป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น มะเร็งปอด หัวใจขาดเลือด ปอดอักเสบ เป็นต้น สังเกตอาการ สัญญาณเตือนจากการแพ้ฝุ่น PM 2.5 ผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มผื่น นูนแดงกระจายบนผิวหนัง ดวงตา ตาแดง เปลือกตาบวม มีน้ำตาไหล ใต้ตาช้ำมีสีคล้ำขึ้น ทางเดินหายใจ คัน แน่นในโพรงจมูก แน่นหน้าอก ไอ จาม มีน้ำมูกแบบใสๆ วิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 ที่ได้ผลดีที่สุดคือ การสวมหน้ากากกรองฝุ่น N95 (หน้ากากชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอนได้) สำหรับวิธีป้องกันอื่น ๆ เช่น กลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน หากปิดหน้าต่างไม่ได้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดมาปิดแทนหน้าต่าง หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำงานหนักนอกบ้าน ดื่มน้ำมาก ๆ งดสูบบุหรี่ในช่วงที่พบฝุ่นละอองในอากาศมาก ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะขยะที่มีสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมทั้งขยะทั่วไป ลดการใช้รถยนต์ หรือใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ทำให้อากาศแย่ไปกว่าเดิม

7 เมษายน 2566
อ่านเพิ่มเติม

ศัลยกรรมตกแต่ง หรือ ศัลยกรรมพลาสติก โดยแพทย์ศัลยแพทย์ ผู้ชำนาญการด้าน ศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อให้การดูแลรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา ต่างๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บทางใบหน้า หรือ มีบาดแผลที่ต้องการผ่าตัดเสริมสร้างให้ใบหน้ากลับมาสวยงามดังเดิม และมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน ในการผ่าตัดดูแลรักษาผู้ป่วย รวมถึงการแก้ไขความพิการตั้งแต่กำเนิด เช่น ใบหน้าที่ผิดปกติ ผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก มีความผิดปกติที่ คอ ปาก ผิวหนัง ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ และ มีบาดแผลที่ใบหน้า เป็นต้น โดยแพทย์ศัลยแพทย์ ผู้ชำนาญการด้าน ศัลยกรรมตกแต่ง ศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า การรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่หน้าและลำคอ รักษาการติดเชื้อที่มือ ศัลยกรรมเพื่อแก้ความผิดปกติแต่กำเนิด ศัลยกรรมจากอุบัติเหตุ การรักษาแผลกดทับ การรักษาเพื่อความงาม

5 ตุลาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย เป็นผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หากรุนแรงอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และทำให้เสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สัญญาณเตือน 1.เจ็บหรือแน่นหน้าอก 2.เหนื่อย, หอบ 3.หน้ามืด, จะเป็นลม 4.ใจสั่น ใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยง 1.เพศชาย หรือเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า 2.เป็นเบาหวาน 3.มีประวัติสูบบุหรี่ 4.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ 5.ไขมันในเลือดสูง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง LDL > 130 mg/dl หรือระดับไขมัน HDL < 40 mg/dl 6.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 7.อ้วน 8.ไม่ออกกำลังกาย 9.ความเครียด วิธีป้องกัน ไม่สูบบุหรี่ ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดไขมัน ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ออกกำลังกายเป็นประจำ ฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจให้ผ่องใส หมั่นตรวจเช็คสุขภาพของตนเองเป็นประจำ ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี

4 ตุลาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย RT-PCR คืออะไร การตรวจ RT-PCR (Polymerase chain reaction) เป็นการ Swab เก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลำคอ และหลังโพรงจมูก (เช่นเดียวกันกับตรวจ Antigen) แต่จะทราบผลใน 2-3 วัน เนื่องจากต้องมีการวัดผลผ่านห้องปฏิบัติการ ถือเป็นการตรวจที่มีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า แต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยตัวอย่างเชื้อนานกว่า และเป็นการตรวจที่แนะนำจาก WHO เนื่องจากสามารถตรวจหาเชื้อในปริมาณน้อยได้ สรุปRT-PCR และRapid Antigen Test แตกต่างกันอย่างไร สำหรับ Rapid Antigen Test เป็นการตรวจที่สะดวกและใช้ระยะเวลาน้อยกว่าในการวินิจฉัย เป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในระดับเบื้องต้น หากผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อโควิด-19) ต้องตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันอีกครั้ง ต่างกับการตรวจแบบ RT-PCR ที่เป็นการตรวจในระดับสูงสามารถยืนยันเชื้อได้แม้จะมีเชื้ออยู่ในตัวน้อยมากก็ตาม โดยไม่ต้องพึ่งการตรวจแบบอื่นอีก แต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยนานกว่าแบบ Rapid Antigen Test ใครบ้างที่ควรตรวจโควิด-19 แบบ Rapid Antigen Test และ RT-PCR ผู้ที่มีประวัติเคยใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่มีอาการชัดเจน เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน เป็นต้น ภายหลังการตรวจ Rapid Antigen Test หรือ RT-PCR หากพบว่าติดเชื้อแต่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการจะจัดเป็น Home isolation ถ้ามีอาการรุนแรงควรรักษาตามขั้นตอนต่อไป

1 กันยายน 2564
อ่านเพิ่มเติม

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในประเทศไทยปัจจุบัน ที่คนไทยค่อนข้างตระหนัก ให้ความสำคัญ ระมัดระวังในการใช้ชีวิตและการเดินทางไปยังที่ชุมชน หรือที่เรียกกันว่า Social Distance กันมากขึ้น หลากหลายองค์กรได้พยายามปรับตัวเพื่อช่วยเหลือและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคคนไทยในสภาวะดังกล่าวตามไปด้วยโรงพยาบาลอุทัยธานี ที่ได้มีการปรับใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือLINE เป็นช่องทางที่เราสามารถติดต่อ ปรึกษาทีมแพทย์ รวมถึงอัพเดทอาการให้ทีมแพทย์เห็นได้โดยตรง ในรูปแบบวิดีโอคอลใน LINE ชื่อว่า Uthaithhosเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเดินทางสู่ที่ชุมชนมายังโรงพยาบาล แถมยังได้คุยกับทีมแพทย์โดยตรงได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ พร้อมมีบริการส่งยาให้ท่านทางไปรษณีย์

27 สิงหาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 จากคําแนะนําการฉีดวัคซีนในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แนะนำว่า “ทุกคนควรจะได้รับวัคซีนให้ได้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด เพราะการเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปนั้น อาจทําให้โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคหัด โรคโปลิโอ และ ไข้หวัดใหญ่ อาจกลับมาระบาดได้ และส่งผลให้ภาระของระบบบริการทางสาธารณสุขที่ตึงเครียดจากโรคโควิด-19 อยู่แล้ว มีมากขึ้นไปอีก” ดังนั้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องควรได้รับวัคซีนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติที่สุด ข้อดีของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ตามกำหนด จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจทําให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ ลดโอกาสเกิดโรคติดเชื้อร่วม (co-infection) กับโรคโควิด-19 เช่น ไข้หวัดใหญ่ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ลดภาระของระบบสาธารณสุขในภาพรวม

27 สิงหาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

เนื่องจากชุดตรวจโควิด-19 แอนติเจน เทสต์ คิท (Antigen Test Kit) เมื่อใช้แล้วถือเป็นขยะติดเชื้อชนิดหนึ่ง ซึ่งอันตรายและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจัดการขยะติดเชื้อ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องทิ้งอย่างถูกวิธีใน 3 วิธีการ คือ วิธีทิ้งชุดทดสอบแอนติเจนที่ใช้แล้ว การทิ้งชุดทดสอบแอนติเจนที่ใช้แล้ว มีข้อแนะนำขอให้ปฏิบัติตาม ดังนี้ 1. แยกชุดทดสอบแอนติเจนที่ใช้แล้วใส่ถุงพลาสติก ระบุข้อความว่าเป็นขยะติดเชื้อให้ชัดเจน 2. ราดหรือฉีดด้วยแอลกอฮอล์ / น้ำยาฆ่าเชื้อโรค / สารฟอกขาว เพื่อฆ่าเชื้อโรค ปิดถุงให้สนิท 3. นำไปทิ้งโดยทิ้งแยกจากขยะทั่วไป เพื่อรอนำไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป สำหรับการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว สำหรับการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วขอให้ปฏิบัติตาม ดังนี้ 1. ถอดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วโดยไม่สัมผัสกับด้านใน 2. ม้วนให้ส่วนที่สัมผัสกับปากอยู่ด้านใน พันสายรัดให้แน่น 3. ใส่ถุงพลาสติกมัดให้แน่นระบุข้อความว่าเป็นขยะติดเชื้อ ให้ชัดเจน 4. นำไปทิ้งแยกจากขยะทั่วไปหรือทิ้งในจุดรับทิ้งขยะติดเชื้อ เพื่อลดการปนเปื้อนกับขยะทั่วไป ทั้งนี้ ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนอย่าลืมแยกและทิ้งชุดทดสอบแอนติเจนที่ใช้แล้วและหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วให้ถูกที่ ถูกวิธี เพื่อสามารถนำไปกำจัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ลดปัญหาขยะ ป้องกันการแพร่เชื้อ covid-19 และขอให้ประชาชนทุกคนสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาอยู่ที่สาธารณะ รวมถึงขณะพูดคุย หมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือเป็นประจำและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด

27 สิงหาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวกลุ่มโรคดังต่อไปนี้ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เนื่องจากกลุ่มโรคเหล่านี้เป็นกลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ แต่เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ผู้ป่วยโรคกลุ่มนี้จะค่อยๆ สะสมอาการ ค่อยๆ ทวีความรุนแรง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วจะเกิดโรคเรื้อรังตามมา หากไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง ซึ่งผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ หากติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรงมากกว่าปกติ โดยผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคที่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19 มีดังนี้ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบประสาท โรคเบาหวานและโรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง ผู้สูงอายุ

27 สิงหาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

ร่วมบริจาคโลหิตฝ่าวิกฤต COVID-19 ในสถานการณ์ที่ COVID-19 ระบาดรอบสองนี้ ทำให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างมาก ส่งผลกระทบให้โรงพยาบาลขาดแคลนเลือดเข้าขั้นวิกฤตทั่วประเทศ เนื่องจากศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติไม่สามารถส่งจ่ายเลือดให้กับโรงพยาบาลต่างๆได้ ในสถานการณ์ที่โลหิตกำลังขาดแคลนและโรคโควิด-19 กำลังระบาด เรารวบรวมความรู้และโยชน์ของการบริจาคโลหิต รวมไปถึงขั้นตอนวิธีการบริจาคและสถานที่ที่จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตมาฝาก ​ บริจาคโลหิตดีอย่างไร วิธีที่ช่วยชีวิตผู้อื่นได้ดีที่สุดและคนทั่วไปสามารถทำได้คือการบริจาคโลหิต ในร่างกายจะมีเลือดไหลเวียนประมาณ 4,000 - 5,000 ซีซี ในการบริจาดเลือดแต่ละครั้งจะใช้เพียง 350 – 450 ซีซี ร่างกายจึงไม่มีผลกระทบอะไรและยังทำให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต กล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรง ผิวพรรณสดใส และได้ช่วยชีวิตผู้อื่น บริจาคโลหิตเตรียมตัวอย่างไร ต้องมีอายุตั้งแต่ 17-70 ปีบริบูรณ์ ต้องมีสุขภาพที่พร้อมจะบริจาคโลหิต น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ไม่มีโรคติดต่อหรืออาการที่เสี่ยงต่อการบริจาคโลหิต นอนหลับพักผ่อนให้พียงพอโดยไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ มีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เป็นไข้หวัดหรืออยู่ระหว่างการทานยาใดๆ งดเครื่องดื่นแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ควรดื่มน้ำเยอะๆ 3-4 แก้ว ก่อนการบริจาค ทานอาหารที่ย่อยง่ายหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง สตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรงดบริจาคโลหิตชั่วคราว มาตรการป้องกัน COVID-19 การคัดกรองก่อนบริจาคโลหิต 1. ผู้ที่อาศัยหรือเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์ 2. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อ COVID-19 งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์ 3. ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อและหายป่วย โดยไม่มีอาการใดๆหลงเหลืออยู่งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์ 4. ภายหลังบริจาคโลหิต หากผู้บริจาคโลหิตได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 ให้แจ้งหน่วยงานที่รับบริจาคโลหิตทราบทันที 5. ผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเองโดยให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริง

27 สิงหาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

เชิญชวนเพิ่มเพื่อนช่องทางการติดต่อสื่อสารโรงพยาบาลอุทัยธานี ผ่าน Line UthaiTH Hosp ของ โรงพยาบาลอุทัยธานีซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการ พูดคุย รับข้อมูลข่าวสาร ติดตามข้อมูลสุขภาพประโยชน์และประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ .............................................................................................. สามารถดำเนินการเพิ่มช่องทางรับข่าวสารใหม่โดยวิธีดังนี้ (1) พิมพ์ค้นหาและเพิ่มเพื่อนในแอปพลิเคชั่นไลน์ @UthaiTH hosp (2) สแกน QR Code เพื่อเพิ่มเพื่อน

27 สิงหาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

โรคที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน ป้องกันโรคโควิด - 19 กลุ่มแรก คือกลุ่มที่มีโรคประจำตัว สามารถฉีดวัคซีนได้ หากกำลังเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวกำเริบสามารถฉีดวัคซีนได้เมื่ออาการหายแล้ว กลุ่มที่สอง กลุ่มมีโรคเรื้อรังที่ยังควบคุมไม่ได้ และอาการไม่คงที่ให้ปรึกษาแพทย์ก่อน ได้แก่ โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โดยสองโรคนี้หากอาการสงบหรือคงที่สามารถฉีดวัคซีนได้ ส่วนโรคระบบประสาท ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน คีโม อาจต้องหยุดยาบางตัวก่อนหรือหลังฉีด กลุ่มที่สาม คือหญิงตั้งครรภ์ช่วง 12 สัปดาห์แรก ไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่หากตั้งครรภ์หลัง 12 สัปดาห์ไปแล้วสามารถฉีดวัคซีนได้ ที่สำคัญหลังการฉีดวัคซีนสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ

24 พฤษภาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

โรคงูสวัดป้องกันได้...ด้วยวัคซีน โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัส varicella zoster virus (VZR) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส โดยเมื่อหายจากโรคอีสุกอีใสแล้วเชื้อจะค่อยๆ เคลื่อนตัวตามแนวเส้นประสาทเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกายโดยไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใดๆ แต่เมื่อใดที่ร่างกายมีภูมิต้านทานลดลง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีผู้ป่วยโรคเอสแอลอี ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอย่างเบาหวานโรคหัวใจโรคไต เป็นต้น เชื้อไวรัสก็สามารถกำเริบและก่อให้เกิดโรคงูสวัดขึ้นมาได้ สาเหตุของโรคงูสวัด โรคงูสวัดเป็นโรคที่มีการติดต่อทางการหายใจเอาเชื้อไวรัส หรือสัมผัสสะเก็ดน้ำเหลืองที่แผลเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายเหมือนโรคสุกใส แต่ผู้ที่เคยเป็นโรคสุกใสแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อโรคงูสวัดเพราะเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันการได้รับเชื้อไวรัสเพิ่มเติมเป็นการกระตุ้นภูมิต้านทานเทียบได้กับการได้รับวัคซีนโรคงูสวัดเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานในผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ให้สูงขึ้นเหมือนกับภูมิต้านทานที่สูงขึ้นภายหลังการป่วยเป็นงูสวัด อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร? ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้น 2-3 วัน มีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวด แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็น แถวยาวตามแนวเส้นประสาท และจะแตกออกเป็นแผล ต่อมาจะตกสะเก็ด และหายได้เองใน 2 สัปดาห์ และเมื่อแผลหายแล้ว อาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้ การป้องกันโรคงูสวัดด้วยวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดชื่อ Zostavax ซึ่งสามารถลดโอกาสการเกิดโรคงูสวัดได้ 51% หรือหากว่าเกิดการติดเชื้อจะสามารถลดความรุนแรงของอาการงูสวัดและอาการปวดหลังการติดเชื้อได้ 67%

31 มีนาคม 2564
อ่านเพิ่มเติม

การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (ESWL) การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy หรือ ESWL) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่ต่ำที่มีพลังงานสูงส่งผ่านผิวหนัง โดยควบคุมให้พุ่งตรงไปยังก้อนนิ่วเพื่อกระแทกให้นิ่วแตกสลายเป็นชิ้นเล็กๆ จนกลายเป็นผงเพื่อให้หลุดไหลออกมากับปัสสาวะ นับเป็นเทคโนโลยีการสลายนิ่วที่ไม่มีการรุกล้ำร่างกายของผู้ป่วย จึงไม่มีบาดแผล ไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ มีความปลอดภัยสูง และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องพักค้างรักษาตัวในโรงพยาบาล ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก ส่วนใหญ่ใช้รักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะนิ่วในไตและท่อไต แต่มักไม่ใช้รักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โดยผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ มีอาการปวดท้อง ปวดบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต การปัสสาวะผิดปกติคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะไม่ออกหรือออกกะปริดกะปรอย คือปัสสาวะไหลๆ หยุดๆ มีเม็ดนิ่วลักษณะคล้ายกรวดทรายปนออกมากับปัสสาวะ มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีไข้ร่วมด้วย เมื่อตรวจวินิจฉัยพบนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยสมควรเข้ารับการรักษาด้วยการสลายนิ่วหรือไม่โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ตำแหน่งและขนาดของนิ่ว ความแข็งของนิ่ว การอักเสบหรือบวมของไต รวมถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยว่าสามารถรับคลื่นกระแทกจากการรักษาได้มากน้อยเพียงใด

25 กุมภาพันธ์ 2564
อ่านเพิ่มเติม

คลินิกศัลยกรรมสมองและไขสันหลัง โรคทางสมอง ไม่ว่าจะเป็นโรคเนื้องอกในสมอง โรคกลุ่มหลอดเลือดในสมองทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง เป็นโรคที่มีความซับซ้อน มีความยุ่งยากในการรักษา มีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวอย่างไม่เป็นปกติ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตในระยะยาว คลินิกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดสมองและกระดูกสันหลังของ SMC มีความพร้อมด้วยทีมแพทย์ที่เปี่ยมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านการผ่าตัดสมอง โดยได้นำนวัตกรรมทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยระดับนานาชาติมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและการทำศัลยกรรม อาทิ โรคทางสมองและระบบประสาท ด้านการผ่าตัดสมองและระบบประสาท การผ่าตัดเนื้องอกฐานกะโหลกศีรษะ การตัดเนื้องอกสมองด้วยวิธีส่องกล้อง โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง การผ่าตัดหลอดเลือดสมอง โรคทางกระดูกไขสันหลัง การผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องกระดูกสันหลัง ....................................................................................................................................................................................................................................................................................................

4 กุมภาพันธ์ 2564
อ่านเพิ่มเติม

คลินิกทันตกรรมจัดฟัน ORYHODONTIC CLINIC อัตราค่าบริการเริ่มต้น 950 บาท/เดือน *ไม่สามารถเบิกจ่ายได้* * หมายเหตุุ* - เดือนที่ 1 ติดเครื่องมือฟันบน 3,350 - เดือนที่ 2 ติดเครื่องมือฟันล่าง 3,350 - หลังจากนั้น เดือนละ 950 จนครบ 30,800 บาท สามารถเข้ารับการตรวจประเมินในวันและเวลา จันทร์ - ศุกร์ 08.30 - 12.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 056 - 511081 ต่อ 138 (ในเวลาราชการ) .........................................................................................................................................................................................................................................................

4 กุมภาพันธ์ 2564
อ่านเพิ่มเติม

คลินิกแพทย์แผนจีน การรักษาแพทย์แผนจีนเป็นการรักษาแบบองค์รวม โดยเน้นการปรับสมดุลภายในร่างกายเป็นหลัก ผลที่ได้รับขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และสภาวะของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะได้รับผลดีจากการรักษาในศาสตร์แพทย์แผนจีน โรค/อาการที่สามารถรักษาได้โดยการแพทย์แผนจีน อาการปวดต่างๆเริ้อรัง ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ไหล่ติด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดข้อศอก ปวดเข่า ตกหมอนนิ้วล็อค โรคทางกายภาพบำบัด อัมพฤกษ์-อัมพาต อัมพาตใบหน้า ชาตามแขน-ขา โรคทางอายุรกรรม เวียนศีรษะ อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคทางสูติ-นรีเวช ประจำเดือนผิดปกติ (ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาก ประจำเดือนน้อยหรือไม่มา) อื่นๆ ปรับสมดุลร่างกาย นอนไม่หลับ ลดน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มความเต่งตึงและเปล่งปลั่งบนใบหน้า

4 กุมภาพันธ์ 2564
อ่านเพิ่มเติม

คลินิกรักษาระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบไปด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อกระเพาะปัสสาวะ ไตทำหน้าที่กรองของเสียเป็นปัสสาวะ และขับออกทางท่อปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยรวมพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คลินิกระบบทางเดินปัสสาวะ ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ โดยทีมศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ การบริการตรวจรักษา ขบนิ่วทางเดินปัสสาวะผ่านกล้อง ผ่าตัดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะเริ่มต้น ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้อง ความผิดปกติต่างๆ ของอวัยวะเพศชาย ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการทำผ่าตัด ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น การสลายนิ่ว (ESWL)ด้วยคลื่นกระแทก .........................................................................................................................................................................................................................................................................................................

4 กุมภาพันธ์ 2564
อ่านเพิ่มเติม

การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง (laparoscopic cholecystectomy) การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง (laparoscopic cholecystectomy)ปัจจุบันการผ่าตัดถุงนำ้ดีแบบผ่านกล้องได้ผลดีและเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก เนื่องจากมีแผลขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม. ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับบ้านภายใน 1 – 2 วัน วิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง แพทย์จะการเจาะแผลเล็ก ๆ บริเวณสะดือและชายโครงขวา เพื่อสอดกล้องขนาดเล็กและเครื่องมือเข้าไปตรวจดู นิ่วในถุงน้ำดี จากนั้นจึงทำการตัดเลาะถุงน้ำดีออก เมื่อเสร็จแล้วก็ดึงเครื่องและกล้องออกทำการเย็บปิดแผล เป็นอันจบขั้นตอนการรักษาแม้การผ่าตัดแบบผ่านกล้องจะมีโอกาสสำเร็จมากถึง 95 % ก็ตาม แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันนานกว่า 3 วัน รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคอื่นๆ ร่วมหลายโรค อาจมีโอกาสที่จะผ่าตัดผ่านกล้องไม่สำเร็จ โดยแพทย์จำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ดังนั้น เมื่อเกิดอาการน่าสงสัยว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือปล่อยไว้เป็นเวลานานจนอาจไม่สามารถรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแบบผ่านกล้องได้ บริการตรวจดังนี้ ตรวจรักษาโรคนิ่วในถุงนำ้ดี ตรวจรักษาและผ่าตัดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดดำ ตรวจรักษาและผ่าตัดก้อนในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ ตรวจรักษาโรคของวัยวะในช่องท้อง

4 กุมภาพันธ์ 2564
อ่านเพิ่มเติม

ตรวจรักษาผิวหนังด้วย เลเซอร์ CO2 Laser หรือ คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์มีความละเอียด ในการทำงาน สูงมาก จึงสามารถ เลือกทำลาย เฉพาะ เนื้อเยื่อที่ต้องการ โดยไม่สร้างความเสียหาย ให้ กับเนื้อเยื่อโดยรอบไม่มีเลือดออก และ ไม่จำเป็น ต้องเย็บแผลและไม่ทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งต่างจาก การผ่าตัดด้วยมีด ที่จะมีเลือดออก และ สร้างความเสียหาย แก่เนื้อเยื่อรอบข้าง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดแผลเป็นได้ การใช้ประโยชน์ของ CO2 Laser ในการผ่าตัดรักษาปัญหาผิวหนัง ที่ได้ผลค่อนข้างดี มีดังนี้ 1. กระเนื้อ ( Seborraic Keratosis ) 2. ไฝ, ไฝนูน ( Nevus, Compound Nevus ) 3. ขี้แมลงวัน ( Lentigine ) 4. ติ่งเนื้องอกบริเวณคอ ( Skin Tags ) 5. ติ่งเนื้องอก ( Soft Fibroma ) 6. เนื้องอกของต่อมเหงื่อ (Syringoma ) 7. หูด ( Verruca Vulgaris ) 8. เนื่องอกสีเหลืองของไขมันบริเวณตา ( Xanthelasma, Xanthoma ) 9. เนื้องอกของต่อมไขมัน ( Sebaceous Gland Hyperplasia ) ตอนทำการรักษา จะเจ็บมากน้อย แค่ไหน? •ก่อนทำการรักษา จำเป็นต้องทายาชาก่อน ใช้เวลา รอยาชา ประมาณ 30 -45 นาที •แต่ถ้าบริเวณ ที่ต้องการรักษา มีขนาดใหญ่ หรือ บริเวณ ลำตัว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อาจจำเป็น ต้องใช้ยาชาชนิดฉีด •ขณะทำการรักษา ผู้รับการรักษา จะไม่รู้สึก เจ็บปวดเลย ต้องทำกี่ครั้ง? สำหรับไฝอาจทำการรักษา มากกว่า 1 ครั้ง เนื่องจาก ไฝมีรากลึก ถ้าจะตัด เอารากออก ในครั้งเดียว อาจทำให้เกิด รอยแผลเป็น ได้ ส่วนใหญ่แล้ว จะทยอยทำ เพื่อ เลี่ยงการเกิดแผลเป็น จึงต้องทำซ้ำ หลายครั้ง แต่ถ้าเป็นกระเนื้อ จะหลุดออกหมด ภายในครั้งแรก ที่ทำการรักษา ต้องพักฟื้น หลังทำการรักษา หรือไม่? •ควรหลีกเลี่ยง การโดนน้ำ บริเวณแผลประมาณ 24 ชั่วโมง •ต้องทาขี้ผึ้งฆ่าเชื้อ (Antibiotic) จนครบ 7 วัน •ห้ามแกะสะเก็ดแผล โดยปกติ จะหลุดออกเอง ภายใน 7-14 วัน •หลังสะเก็ดหลุด จะเห็นเป็นผิวสีชมพู อยู่ไม่กี่วัน ก็จะหายเป็นปกติ •ควรทาครีมกันแดด ทุกวัน อย่างน้อย SPF 30 ขึ้นไป •หลีกเลี่ยงแสงแดด อย่างน้อย 2 อาทิตย์ .............................................................................................................................................................................................................................................

4 กุมภาพันธ์ 2564
อ่านเพิ่มเติม