โรงพยาบาลอุทัยธานี

บริจาคโลหิตผ่านวิกฤตโควิด

27 สิงหาคม 2564

 

ร่วมบริจาคโลหิตฝ่าวิกฤต COVID-19

ในสถานการณ์ที่ COVID-19 ระบาดรอบสองนี้ ทำให้จำนวนผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างมาก ส่งผลกระทบให้โรงพยาบาลขาดแคลนเลือดเข้าขั้นวิกฤตทั่วประเทศ เนื่องจากศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติไม่สามารถส่งจ่ายเลือดให้กับโรงพยาบาลต่างๆได้ ในสถานการณ์ที่โลหิตกำลังขาดแคลนและโรคโควิด-19 กำลังระบาด เรารวบรวมความรู้และโยชน์ของการบริจาคโลหิต รวมไปถึงขั้นตอนวิธีการบริจาคและสถานที่ที่จัดกิจกรรมบริจาคโลหิตมาฝาก

บริจาคโลหิตดีอย่างไร
วิธีที่ช่วยชีวิตผู้อื่นได้ดีที่สุดและคนทั่วไปสามารถทำได้คือการบริจาคโลหิต ในร่างกายจะมีเลือดไหลเวียนประมาณ 4,000 - 5,000 ซีซี ในการบริจาดเลือดแต่ละครั้งจะใช้เพียง 350 – 450 ซีซี ร่างกายจึงไม่มีผลกระทบอะไรและยังทำให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต กล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรง ผิวพรรณสดใส และได้ช่วยชีวิตผู้อื่น

บริจาคโลหิตเตรียมตัวอย่างไร
ต้องมีอายุตั้งแต่ 17-70 ปีบริบูรณ์ ต้องมีสุขภาพที่พร้อมจะบริจาคโลหิต น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ไม่มีโรคติดต่อหรืออาการที่เสี่ยงต่อการบริจาคโลหิต นอนหลับพักผ่อนให้พียงพอโดยไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ มีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เป็นไข้หวัดหรืออยู่ระหว่างการทานยาใดๆ งดเครื่องดื่นแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ควรดื่มน้ำเยอะๆ 3-4 แก้ว ก่อนการบริจาค ทานอาหารที่ย่อยง่ายหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง สตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรงดบริจาคโลหิตชั่วคราว

มาตรการป้องกัน COVID-19 การคัดกรองก่อนบริจาคโลหิต
1. ผู้ที่อาศัยหรือเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค COVID-19 งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์
2. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อ COVID-19 งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์
3. ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อและหายป่วย โดยไม่มีอาการใดๆหลงเหลืออยู่งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์
4. ภายหลังบริจาคโลหิต หากผู้บริจาคโลหิตได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID-19 ให้แจ้งหน่วยงานที่รับบริจาคโลหิตทราบทันที
5. ผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเองโดยให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริง