โรงพยาบาลอุทัยธานี

บริจาคอวัยวะ

บริจาคอวัยวะ

ปัจจุบันมีผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ วิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ คือ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ ด้วยอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของบุคคลนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นมาปลูกถ่าย จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมีชีวิตอยู่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคมต่อไปได้ อวัยวะใหม่ที่สามารถนำมาปลูกถ่าย ได้แก่ หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, ตับอ่อน, กระดูก ฯลฯ ซึ่งได้มาจากการนำอวัยวะใหม่เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ และการผ่าตัดนั้นจะเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้อวัยวะใหม่นั้นทำงานแทนอวัยวะเดิม

วิธีแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ

ดาวน์โหลดใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ

กรอกข้อมูลลงในใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ให้ครบถ้วน ชัดเจน  แล้วส่งไปรษณีย์มาที่
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย  อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

เมื่อศูนย์รับบริจาคอวัยะฯ ได้รับข้อความแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะของท่านแล้ว ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้หลังจากที่ท่านได้รับบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ แล้ว อย่าลืมกรอกชื่อ และรายละเอียดการบริจาคลงในบัตรกรุณาเก็บบัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้กับตัวท่าน หากสูญหายกรุณาติดต่อกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

คุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะ

1. ผู้บริจาคอวัยวะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
2. เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
5. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
7. กรุณาแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะแก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติให้รับทราบด้วยศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
สถานที่ติดต่อ: อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ :  1666 หรือ 0 2256 4045-6
โทรสาร :  0 2255 7968
อีเมล :  odc-trcs@redcross.or.th
เว็บไซต์ :   
https://www.organdonate.in.th/

 

การบริจาคดวงตา

เป็นการแสดงความจำนงตั้งแต่ยังมีชีวิต เพื่อมอบดวงตาของตนเองภายหลังจากเสียชีวิตแล้ว ซึ่งทางศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยจะได้นำไปเปลี่ยนให้กับผู้ป่วย เพื่อให้สามารถกลับมามองเห็นได้เป็นปกติอีกครั้ง

ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รอการเปลี่ยนกระจกตาอยู่จำนวนมากถึง 11,027 ราย แต่ในปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยได้รับการบริจาคดวงตาจากผู้เสียชีวิตเพียง 847 ราย และมีผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเพียง 763 ราย เท่านั้น

ขั้นตอนการบริจาคดวงตา
            1.ผู้ที่สนใจบริจาคดวงตาสามารถแสดงความจำนงในการบริจาคดวงตาได้คนทุกเพศทุกวัย       ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เป็นต้นไป โดยสามารถแสดงความจำนงได้ที่ https://www.redcross.or.th/donate/eye
            2.เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคดวงตา ควรพกบัตรผู้บริจาคติดตัวไว้และแจ้งให้ญาติรับทราบว่าได้ทำเรื่องบริจาคดวงตาไว้ในระหว่างมีชีวิต
            3.ในกรณีบริจาคอวัยวะแทนญาติ กรุณาโทรแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยทันทีที่ผู้บริจาคเสียชีวิต ที่หมายเลข  081 902 5938, 081 836 4927 ตลอด 24 ชั่วโมงภายหลังเสียชีวิตดวงตาจะเริ่มเสื่อมสภาพ และเน่าเปื่อย ดังนั้นเพื่อให้ดวงตาที่มีสภาพดีที่สุด ญาติของผู้แสดงความจำนงในการบริจาคควรโทรแจ้งศูนย์ดวงตาทันทีหลังผู้บริจาคเสียชีวิต เพื่อให้ศูนย์ดวงตาได้จัดเก็บดวงตาโดยเร็วที่สุด ซึ่งควรจัดเก็บให้เรียบร้อยภายใน 6-8 ชั่วโมง

ข้อควรปฏิบัติภายหลังการอุทิศดวงตา
            1.แจ้งสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดให้รับทราบ
            2.เก็บบัตรอุทิศดวงตาไว้กับตัวหรือในที่หาง่าย
            3.ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาควรปรึกษาจักษุแพทย์

ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ชั้น 7 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2252-8131-9 , 0-2258-8181-9, 0-2256-4039 และ 0-2256-4040 ต่อศูนย์ดวงตา ตลอด 24 ชั่วโมง
E-mail: eyebank@redcross.or.th
Website : 

การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา

การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา ผู้บริจาคเป็นผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่ ยอมสละร่างกายของตนเอง ให้ผู้ที่ไม่เคยได้รู้จักมาก่อนได้ศึกษาโดยเพียงแต่มุ่งหวังว่า ผู้ที่ศึกษาร่างของตนจะนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปช่วยมวลมนุษย์ชาติต่อไป ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาได้สร้างกุศลทานครั้งสุดท้ายของชีวิตที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุด โดยได้แต่หวังว่า ผู้อยู่เบื้องหลังจะไม่ต้องทนทุกข์จากอาการเจ็บป่วย ตนเองมิได้หวังสิ่งตอบแทนใดใด นอกจากได้เป็นผู้ ให้เท่านั้น ร่างกายของผู้บริจาค สามารถสร้างประโยชน์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ ได้ดังนี้

เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน

-  เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์

-  เพื่อการศึกษาของนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ

-  เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์

-  เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกผ่าตัด

-  เพื่อเก็บโครงกระดูกเพื่อการศึกษาตลอดไป

-  ขั้นตอนการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา

ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายสามารถยื่นความจำนงได้ 3 วิธี คือ

1. ยื่นความจำนงผ่านช่องทางออนไลน์ที่ 

2. ยื่นความจำนงโดยตรงที่ ศาลาทินฑัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์มของโรงพยาลบาล 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ไว้เป็นหลักฐาน

3. ยื่นความจำนงทางไปรษณีย์ โดยกรอกข้อความลงในแบบฟอร์ม แล้วส่งมาทางไปรษณีย์ 1 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะส่งบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ภายหลังเมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม ทายาท มีสิทธิ์คัดค้านไม่มอบศพให้กับโรงพยาบาลได้โดยต้องแจ้งการคัดค้านไม่มอบศพกับโรงพยาบาลฯภายใน 24 ชั่วโมง

 

 

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอุทิศร่างกายได้ที่

1. ระเบียบการอุทิศร่างกายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อการศึกษา การวิจัย และการ รักษาการแพทย์ฉบับเต็ม

2. ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา

3. แบบฟอร์มแจ้งความจำนงอุทิศร่างกาย

4. แบบฟอร์มยินยอมมอบศพ

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการอุทิศร่างกายได้ที่

ศาลาทินทัต โทรศัพท์ 02  256 4397 , 02 256 4281 ต่อ 0 หรือ 4 หรือ 7

ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ศูนย์ฝึกผ่าตัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

โทรศัพท์  02  256 4281 ต่อ 1405 , 02  256 4737